วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาหารประจำภาคใต้

        ภาคใต้ เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัดอาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง
    ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thaifoodcenter.thmy.com/index.html

>> ตัวอย่างอาหารวันนี้ คือ แกงมัสมั่นไก่

 ส่วนผสม
    1. ไก่
    2. มะพร้าวขูด
    3. น้ำปลา
    4. น้ำตาลปีบ
    5. ส้มซ่าคั้นแต่น้ำ
    6. น้ำมะขามเปียก
    7. ถั่วลิสงคั่ว
    8. มันฝรั่งหัวเล็กต้มสุก
    9. สับปะรดขนาดกลาง
    10. ใบกระวาน
    11. ลูกกระวาน
 
        เครื่องปรุงน้ำพริก
    1. พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออก
    2. หอมแดงซอย
    3. กระเทียมซอย
    4. ตะไคร้หั่นฝอย
    5. ข่าหั่นฝอย
    6. รากผักชีหั่นฝอย
    7. เกลือป่น
    8. กะปิ
    9. ลูกจันทร์
    10. ดอกจันทร์
    11. เม็ดเมล็ดผักชี
    12. กานพลู
    13. อบเชยยาว

วิธีทำน้ำพริก

1. ล้างมันฝรั่ง ปอกเปลือก หั่นชิ้นพอดีคำ แช่น้ำเกลืออ่อนๆ ไว้ไม่ให้ดำ ปอกหัวหอมแล้วจัดให้เป็นดอก
2. คั้นมะพร้าวแยกหัวกะทิไว้ 1 1/2 ถ้วยตวง คั่วถั่วลิสงทิ้งให้เย็นแกะเปลือกออกให้หมด ล้างไก่ให้สะอาด ผ่ากลางตัวเป็น 2 ซีก แล้วสับซีกละ 4 ชิ้น (อก 2 ชิ้น สะโพกและน่องส่วนละ 1 ชิ้น) ตั้งหางกะทิบนไฟกลาง พอเดือดใส่ไก่ลง
3. เคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน ใส่น้ำพริกแกงที่โขลกไว้ลงผัดให้หอม ตักใส่หม้อไก่ ใส่ถั่วลิสงคั่ว ลูกและใบกระวาน เคี่ยวไฟอ่อนประมาณ 10 นาที ใส่มันฝรั่ง รสดี รสไก่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล น้ำมะขามให้ได้ 3 รส กลมกล่อม ใส่หัวหอมใหญ่ เคี่ยวต่อจนน้ำแกงข้น ยกลง

วิธีทำ
1. ล้างไก่ให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ประมาณ 1-1 1/2 นิ้ว คั้นมะพร้าวให้ได้หัวกะทิ 3 ถ้วย หางกะทิ 4 ถ้วย
2. มันฝรั่งกับสับปะรด ปอกเปลือกล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นขนาดคำเล็กพองาม
3. คั่วพริกไทย ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ เมล็ดผักชี ยี่หร่า ลูกกระวาน กานพลู และอบเชยให้เหลือง แล้วโขลกให้ละเอียด ตักขึ้น โขลกพริกแห้ง หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า รากผักชี เกลือให้ละเอียด แล้วเอาไปโขลกรวมกับเครื่องเทศให้เข้ากันดี เตรียมไว้
4. เคี่ยวไก่กับหางกะทิให้เปื่อยนุ่ม ส่วนหัวกะทิใส่กระทะเคี่ยวให้แตกมัน แล้วเอาน้ำพริกลงไปผัดให้หอม ใส่ไก่ ใส่น้ำปลา แล้วตักไปต้มรวมในหม้อต้มไก่ พอเดือดใส่น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำส้มซ่า ถั่วลิสง ชิมรสให้พอดีเคี่ยวจนน้ำข้นพอประมาณ
5. ใส่มันฝรั่ง สับปะรด ใบกระวาน และลูกกระวาน สักครู่ปิดไฟ ยกลง
อาหารประจำภาคกลาง
 
       ภาคกลาง.... เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นทีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำลำธารหลายสาย ไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี รวมทั้งมีพืช ผัก ผลไม้ นานาชนิด นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมานับ หลายร้อยปีตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ มีแขกบ้าน แขกเมืองไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุดเป็นที่ประทับของในหลวงในรัชกาลต่าง ๆ มีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งแวดลงชาววังซึ่งต่างก็มีส่วนสำคัญ ในการสร้างสรรค์อาหารที่เป็นแบบฉบับของคนภาคกลาง
   ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thaifoodcenter.thmy.com/index.html

>> ตัวอย่างอาหารวันนี้ คือ ต้มข่าไก่


  ส่วนผสม
  1. เนื้อไก่
  2. หัวปลี
  3. มะพร้าวขูดขาว
  4. พริกขี้หนูบด
  5. ข่าอ่อน
  6. ใบมะกรูด
  7. น้ำมะนาว น้ำปลา ผักชี

   วิธีการทำ
  1. นำมะพร้าวขูดขาวมาคั้น ไม่ต้องแยกหัวแยกหาง
  2. ล้างเนื้อไก่ให้สะอากแล้วหั่นเป็นชิ้นพอประมาณ
  3. ลอกปลีกล้วยออกจนถึงใจตรงกลางแล้วล้างให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นยาวขนาด 1 นิ้ว
  4. ตั้งกะทิให้เดือด จากนั้นใส่เนื้อไก่ หัวปลี และข่าอ่อนลงไป ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู
  5. คนให้เข้ากัน ชิมรสให้ออกเปรี้ยวนิดๆ แล้วใส่ใบมะกรูดลงไป ยกลงจากเตา
  6. ตักเสิร์ฟขณะร้อน โรยหน้าด้วยผักชี
   เคล็ดลับ
       -พริกขี้หนูจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้แต่บางท่านจะใส่พริกเขียวพริกแดง แทนพริกขี้หนู เพราะจะทำให้ไม่เลี่ยนเวลารับประทานแกงที่ทำจากกะทิ
อาหารท้องถิ่นประจำภาคอีกสาน

    อาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรสกันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่างเพื่อการดำรงชีวิต อยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทาน ได้ในท้องถิ่นมาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน

>> ตัวอย่างอาหารภาคอีสาน คือ แจ่วบอง



ส่วนผสม
  1. รากผักชี 
  2. ตะไคร้เผาพอหอม
  3. ปลาร้าสับละเอียด
  4. น้ำมันพืช(ไม่ใช้ก็ได้-ใช้น้ำเปล่าแทนได้)
  5. น้ำมะขามเปียก-ข้น 
  6. ข่าเผาซอย 
  7. พริกป่น 
  8. ปลาป่น
  9. น้ำปลา
  10. น้ำตาลทราย
  11. ผักสดตามชอบ

   วิธีทำ

   1.โขลกรากผักชี ตะไคร้ ข่าให้ละเอียดใส่กระเทียม หอม โขลกต่อให้ละเอียดใส่พริกป่นปลาร้า โขลกต่อให้เข้ากัน
   2. ตั้งกระทะไฟอ่อนใส่น้ำมันพร้อมใส่ส่วนผสมผัดใส่น้ำปลาร้าน้ำ  มะขามเปียกน้ำตาลผัดจนหอมจึงตักขึ้นรับประทานกับผักสดผักนึ่ง       ถ้าไม่ชอบปลาร้าใส่น้ำปลาก็ได้
วันนี้เราจะยกตัวอย่างอาหารของภาคเหนือกันนะค่ะ
        
         ภาคเหนือ... เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ถูกนำมาทดลองปลูกและได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ โก๊ะข้าว หรือขันโตก




  ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thaifoodcenter.thmy.com/index.html 

>>> ตัวอย่างอาหารเหนือวันนี้ คือ แกงโฮ๊ะ



ส่วนผสม

1.วุ้นเส้น100กรัม
2.หน่อไม้ดอง50กรัม
3.ถั่วฝักยาว20กรัม
4.มะเขือพวง20กรัม
5.มะเขือเปราะ20กรัม
6.ตำลึง10กรัม
7.พริกขี้หนู5เม็ด
8.ตะไคร้หั่น1ต้น
9.ใบมะกรูด5ใบ
10.ต้นหอมซอย1ช้อนโต๊ะ
11.ผักชีซอย1ช้อนโต๊ะ
12.น้ำมันพืช2ช้อนโต๊ะ
13.กะทิ2ช้อนโต๊ะ
14.แกงฮังเล150กรัม
15.ผงฮังเล1/2ช้อนชา
 

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง7เม็ด
2.พริกขี้หนูแห้ง4เม็ด
3.หอมแดง3หัว
4.กระเทียม10กลีบ
5.ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
6.ข่าซอย1/2ช้อนโต๊ะ
7.กะปิหยาบ1/2ช้อนโต๊ะ
8.เกลือ1ช้อนชา
 

วิธีการทำแกงโฮะ

     1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด แช่วุ้นเส้นให้พอนุ่ม ตัดเป็นท่อน 
     2. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่ไก่ลงผัดให้เข้ากัน ใส่ผักสุกยาก ตามด้วยหน่อไม้ แล้วผัดให้เข้ากัน 
     3. เติมน้ำเล็กน้อย ใส่วุ้นเส้น ผัดให้เข้ากัน 
     4. ใส่ผงฮังเล ตามด้วยแกงฮังเล ผัดให้เข้ากัน 
     5. ใส่กะทิ แล้วตามด้วยผักสุกง่าย ผัดต่อจนสุก ยกลง
เคล็ดลับในการปรุง

        แกงโฮะ ควรมีน้ำพอสมควร เมื่อใส่วุ้นเส้นลงไปจะทำให้สุกง่าย และแห้งพอดี 
ควรใส่ผักที่สุกยากลงผัดก่อน ตามด้วยผักที่สุกง่าย
เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
  -  เลือกผักที่สดและใหม่ เลือกตามฤดูกาลที่ชอบก็ได้ 
  -  เลือกหน่อไม้ดองที่ใหม่ เทน้ำหน่อไม้ดองทิ้ง และล้างน้ำ 1 ครั้งก่อนนำลงผัด

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555